กาญจนบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งสถานที่ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวัดวาอารามต่าง ๆ
จัดเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีกองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ มีการเกณฑ์เชลยศึกจากหลายแหล่งด้วยกันได้แก่ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน มลายู ไทย พม่า และอินเดีย เป็นจำนวนมาก การสร้างเต็มไปด้วยความลำบาก โรคภัย และการขาดแคลนอาหาร ที่ทำให้เหล่าเชลยศึกหลายคนต้องเสียชีวิต สะพานแห่งนี้ ได้มีการซ่อมแซมทางรถไฟครั้งใหญ่หลังจากสงครามสงบลง ทางรถไฟสายมรณะยังคงเปิดใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
รายละเอียด: เปิดให้บริการทุกวนตั้งแต่ 08.00 – 16.30 มีบริการรถไฟนำเที่ยวจากกรุงเทพฯ ทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
วิธีเดินทาง: สะพานข้ามแม่น้ำแควอยู่ห่างจากตัวเมืองไป 4 กิโลเมตร
จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายไทย-พม่า หรือทางรถไฟสายมรณะ เริ่มตั้งแต่การเข้ามาของกองทหารญี่ปุ่น การออกแบบและการสร้างทางรถไฟ สภาพภูมิศาสตร์ของทางรถไฟ สภาพชีวิตในค่ายเชลยศึกที่มีความโหดร้ายทารุณเป็นอย่างมาก ด้านการแพทย์ ค่าของสงคราม การปฏิบัติการของทางรถไฟ การทิ้งระเบิดและการทำลายทางรถไฟ และเหตุการณ์หลังจากสงครามยุติลง
รายละเอียด: เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 ถึง 17.00 น.
วิธีเดินทาง: สถานที่ตั้งอยู่ห่างจากสุสานทหารสัมพันธมิตร ประมาณ 100 เมตร
สุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลยศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม
รายละเอียด: เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 08.30 – 16.00 น. วิธีเดินทาง: ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร
น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สายน้ำไหลลงมาจากยอดเขาสูง ผ่านโขดหินผา และป่าที่ปกคลุมด้วยแมกไม้นานาชนิด มารวมกันเป็นแอ่งน้ำเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดเป็นชั้นของน้ำตก ที่มีความสวยงามแตกต่างกันไป น้ำตกมีด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น
รายละเอียด: เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 08.30– 16.30 น.
วิธีเดินทาง: ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอศรีสวัสดิ์ อยู่ในแนวลำน้ำแควใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 600 ตารางกิโลเมตร อยู่บนทางหลวงหมายเลข 3199 ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนศรีนครินทร์
เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ) ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหวขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ ซึ่งที่ช่องเขาขาดเป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่มในเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมีช่วงที่เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำงาน ถึง 18 ชั่วโมงโดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้น เป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจ ทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตามเกิด เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานตอนกลางคืนด้วยแสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนังทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า “ช่องไฟนรก”
รายละเอียด: เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 – 16.00 น.
วิธีเดินทาง: ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 323 เข้าสู่ถนนไทรโยค – ทองผาภูมิ
อีกหนึ่งถ้ำที่มีหินงอก หินย้อยที่งดงามน่าทึ่ง เกิดจากน้ำฝนซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ เมื่อตกถึงพื้นดินก็จะทำปฏิกิริยาจนกลายเป็น กรดคาร์บอนิก น้ำที่ซึมลงใต้ดิน ก็จะกัดเซาะหินปูนเป็นโพรงเชื่อมต่อกัน เมื่อน้ำใต้ดินลดลง จึงเกิดถ้ำขึ้นมา เส้นทางสู่ถ้ำละว้าเดินทางไม่ลำบากมากนักเพราะเป็นถนนลาดยางตลอดทั้งสาย และร่มรื่นด้วยต้นไม้ตลอดสองข้างทาง บรรยากาศดีและสบายตาไปกับสีเขียวของต้นไม้
รายละเอียด: เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 – 16.00
วิธีเดินทาง: ห่างจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ช่วงกิโลเมตรที่ 59–60 ต้องข้ามฝั่งแม่น้ำแควน้อย สามารถเช่าเหมาเรือจากท่าเรือปากแซงข้ามไป ในราคาประมาณ 800–1,000 บาท นั่งได้ 10–12 คน ใช้เวลาประมาณ 45 นาที
เมืองมัลลิกา เป็นเมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วิถีชีวิตของชาวสยามในยุค ร.ศ.๑๒๔ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายหลายด้าน ที่เด่นชัดมากคือการประกาศเลิกทาส เมื่อทาสได้รับความเป็นไทพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่อาศัยและทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณัติหรือการดูแลของบรรดาเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป พวกเขาต้องดำรงชีวิตให้อยู่รอด พึ่งตนเอง และอยู่ร่วมกับคนสยามทุกหมู่เหล่า การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้นับเป็นรากเหง้าสำคัญของคนไทยในยุคปัจจุบัน